การปกครองของไทย

การปกรองของไทย




การปกครองสมัยกรุงรัตนดกสินทร์ตอนต้น(พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕)


http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifสภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้นเป็นสำคัญ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifการปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วย
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifการบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifกรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifสำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/anipen_yellow.gifหัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/anipen_yellow.gifหัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifนโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/pnl.gifสำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/anipen_yellow.gif๑.มูลเหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social02/01/2/1ymngs03/thammanoo/anipen_yellow.gif๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี
1. สภาพสังคมชีวิตความเป็นอยู่ถือได้ว่ามีการควบคุมกันอย่างเข้มงวดเพราะบ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลานอกจากนี้ยังมี การเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนีการเกณฑ์แรงาน
2. การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมรัชสมัยของพระเจ้าตากแม้จะไม่ยาวนานนักแต่ก็ยังได้ฟื้นฟูปรับปรุงบ้านเมืองในด้านวัฒนธรรมอันมากที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ด้านศาสนา พระเจ้าตากทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนาอย่างมั่นคงทรงให้มีการชำระความบริสุทธิ์ของสงฆ์ทั้งหมดรูปใดที่ประพฤติไม่ดีให้ศึกออกไปพระองค์ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างอุโบสถ และทรงคัดลอกพระไตรปิฎกที่นำมาจากวัดพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี 2312
2.2 ด้านศิลปวัฒนธรรม พระเจ้าตากทรงมีภารกิจมากมายโดยเฉพาะการสร้างบ้านเมืองการป้องกันประเทศ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จึงทำให้ผลงานในด้านนี้จึงไม่เด่นชัด สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ บรรดาช่างฝีมือและช่างศิลป์ถูกพม่ากวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก ช่างที่มีอยู่ก็เป็นช่างฝึกหัดไม่อาจเทียบเท่าช่างในอยุธยาได้ ผลงานที่มีคือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวรราม) และด้านก่อสร้างได้แก่ การสร้างพระราชวังป้อมปราการ เชิงเทิน ขาดความสวยงาม ส่วนทางด้าน วรรณกรรมมีผลงานสำคัญคือ รามเกียรติ์ เป็นต้น
2.3 ด้านนาฏศิลป์ มีการฟื้นฟูและเล่นฉลองในงานพิธีสำคัญตามแบบประเพณีสมัยอยุธยาดังเห็นได้จากพิธีสมโภชพระแก้วมรกตและพระบางซึ่งสมเด็จเจ้า พระยามหากษัตริย์ศึกได้อันเชิญมาจากเวียงจันทร์เพื่อประดิษฐานที่กรุงธนบุรีซึ่งในครั้นนั้นมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใช้เวลา 7 วันมีการประชันการแสดงละครแสโขน การเล่นมโหรีพิณพาทย์ การเล่นบทดอกสร้อยสัดวาฯ
2.4 ด้านการศึกษา ในสมัยธนบุรียังคงอยู่ที่วัดเหมือนเมื่อสมัยอยุธยานั้นคือการเรียนที่วัดมีพระสอนหนังสือและยังคงใช้แบบเรียนจินดามณีซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องวิธีแต่งกาพย์กลอน ศึกษาศัพท์เขมร บาลีสันสฤตด้วยเพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกนั้นก็เป็นวิชาเลขซึ่งนำใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรัวิชาชีพพ่อแม่มีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นให้แก่ลูกหลาน เช่น วิชาแพทย์โบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปั้นปูน ช่างเหล็กฯ ส่วนเด็กหญิงถือตามประเพณีโบราณคือ การเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว และการฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือจึงมีน้อยคนนักที่อ่านออกเขียนได้
การเมืองการปกครองและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมัยกรุงธนบุรี
ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. ๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพระยาวชิรปราการตีฝ่าวงล้อมพม่าเดินมุ่งหน้าไปทางหัวเมืองชายทะเลตะวันออก และได้รวมผู้คนที่อยู่ในบริเวณนี้ตั้งเป็นชุมนุมโดยยึดเมืองจันทบุรีเป็นฐานทัพ ให้ต่อเรือเตรียมไว้ จนกระทั่งเมื่อสิ้นฤดูมรสุม สมเด็จพระเจ้าตา (สิน) จึงเข้าโจมตีค่ายพม่าที่ธนบุรีและค่ายโพธิ์สามต้นที่อยุธยา และสามารถยึดค่ายนี้ได้ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถยึดธนบุรี และกรุงศรีอยุธยา คืนจากพม่าได้ ทำให้พระองค์มีความชอบธรรมในการสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ จึงได้ทรงสถาปนาธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีในปีเดียวกันการสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานีเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสามารถกู้เอกสารของชาติได้แล้ว ปัญหาสำคัญของไทยในขณะนั้นคือ การป้องกันตนเองให้พ้นจากการโจมตีโดยพม่า และหาอาหารให้พอเลี้ยงผู้คนที่มีชีวิตรอดจากสงคราม แต่สภาพอยุธยาอยุธยาขณะนั้นไม่อาจบูรณะฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วด้วยกำลังคนเพียงเล็กน้อย อีกทั้งพม่าได้รู้ลู่ทางและจุดอ่อนของอยุธยาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นพระองค์จำเป็นที่จะต้องหาชัยภูมิที่เหมาะ ในการสถาปนาราชธานีแห่งใหม่คือ กรุงที่ได้รับพระราชทานนามว่ากรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรกรุงธนบุรีตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองบางกอกเดิมซึ่งในสมัยอยุธยา เมืองบางกอกมีฐานะเป็นเมืองท่าหน้าด่านคือ เป็นที่จอดเรือสินค้า และเป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกษาที่ยกทัพเข้ามาทางปากน้ำเจ้าพระยารวมทั้งตรวจตราเก็บภาษีเรือและสินค้าที่ขึ้นล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง บางกอกจึงมีป้อมปราการ และ มีด่านภาษีเป็นด่านใหญ่ที่เรียกว่า ขนอนบางกอก เมืองบางกอกจึงมีชุมชนชาวต่างชาติ เช่น ชุมชนชาว จีน อินเดียมุสลิม ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและเป็นทางผ่านของนักเดินทาง เช่น นักการทูต พ่อค้า นักการทหาร และนักบวชที่เผยแผ่ศาสนา รวมทั้งนักเผชิญโชคที่ต้องการเดินทางไปยังอยุธยาดังนั้นโดยพื้นฐานที่ตั้งของธนบุรีจึงอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ของปากน้ำเจ้าพระยาและเป็นเมืองที่มีความสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจมาก่อนตลอดจนเป็นเมืองที่มีความปลอดภัย เพราะมีทั้งป้องปราการและแม่น้ำลำคลองที่ป้องกันไม่ให้ข้าศึกษาโจมตีได้โดยง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนาธนบุรีเป็นราชธานี พระองค์โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ โดยสร้างพระราชวังชิดกับกำแพงเมืองทางใต้ มีอาณาเขตตั้งแต่ป้องวิชัยประสิทธิ์และวัดท้ายตลาดมาจนถึงวัดแจ้ง วัดทั้งสองจึงเป็นวัดในเขตพระราชฐาน สำหรับวัดแจ้งนั้นมีฐานะเป็นพระอารามหลวงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น โดยชักชวนให้ผู้คนที่หลบหนีสงครามกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ให้กลับมาตั้งบ้านเรืองใหม่ พร้อมทั้งฟื้นฟูระบบระเบียบในการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบสมัยอยุธยาการปกครองหัวเมืองในสมัยธนบุรียศของผู้ปกครองเมือง- การปกครองหัวเมืองชั้นใน- การปกครองหัวเมืองชั้นนอก- การปกครองเมืองประเทศราชผู้รั้งเมืองเจ้าพระยาผู้ครองนครพัฒนาการด้านเศรษฐกิจในตอนต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาวะทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในสภาพลำบาก เนื่องจากเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างหนักทั้งนี้เพราะราษฎรมิได้ทำนาในระหว่างการศึกสงครามแม้ว่าภายหลังจากที่พระองค์กู้เอกราชได้แล้ว การทำนาก็ยังไม่ได้ผล เพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ในการขจัดปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ ทรงรับซื้อข้าวจากพ่อค้าจากเรือสำเภาพัฒนาการด้านความสัมพันธ์กับต่างชาติขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำ คนไทยร่วมแรงร่วมใจสร้างความเป็นเอกภาพให้กับบ้านเมืองอยู่นั้น คนไทยยังมีความกังวลที่จะรักษาชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ดังนั้นความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยธนบุรี จึงมีลักษณะการทำสงครามตลอดสมัย ทั้งสงครามป้องกันอาณาจักรและขยายอาณาเขต ตลอดจนความสัมพันธ์ทางด้านสังคมสมัยธนบุรีคล้ายกับสังคมอยุธยา คือ โครงสร้างทางสังคมประกอบด้วยกลุ่มคนคือกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนางกลุ่มชนชั้นที่ถูกปกครอง ได้แก่ ไพร่ ทาสกลุ่มชนชั้นพิเศษ ได้แก่ นักบวช เช่น พระสงฆ์ และพราหมณ์
ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง
สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดียส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมืองต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้นถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนาราย์แบ่งภาคมาเลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนายปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครอง
ครัวเรือนต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริยเ์ป็นผู้อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้นอยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการบริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการบริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่งจากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลางและราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ
รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทางด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่นกรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญา
สิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้ ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวนั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัดหัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง"ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็
ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานีนอกจากนั้นปรากฎตามกฎมนเทียรบาลและทำเนียบศักดินาหัวเมืองได้เลิกเมืองลูกหลวง 4 ด้านของราชธานีตามที่มีมาแต่ก่อน คงให้มีฐานะเป็นเพียงเมืองชั้นจัตวาอาณาเขตวงราชธานี ซึ่งได้ขยายออกไปภายหลังการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ ส่วนระเบียบการปกครองเมืองภายนอก วงราชธานียังคงจัดเป็นเมืองพระยามหานครตามเดิม แต่แบ่งออกเป็นเมือง ชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรีเมืองชนิดนี้ต่อมาเรียกว่ หัวเมืองชั้นนอกเพราะอยู่วงนอกราชธานีและอยู่ห่างไกลหรือเพราะอยู่หน้าด่านชายแดนแต่ละเมืองก็มีเมืองอยู่ในอาณาเขตทำนองเดียวกับวงราชธานีและบรรดาเมืองชั้นนอก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดอย่างเป็นผู้ต่างพระองค์ทุกอย่างและมีกรมการพนักงานปกครองทุกแผนกอย่างเช่นในราชธานีหัวเมืองต่อนั้นออกไป ซึ่งเมืองชนต่างชาติต่างภาษาอยู่ชายแดนต่อประเทศอื่นให้เป็นเมืองประเทศราชมีเจ้านายของชนชาตินั้นปกครองตามจารีตประเพณีของชนชาตินั้นๆ และเมืองนั้นต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการมีกำหนด 3 ปีครั้งหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้นใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบลแบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การแบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัยปัจจุบันมาก นักกฏหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่
แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้นการปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้น
เช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็นชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครองระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและคดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนาในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า ฉะนั้นตลอดระยะเวลา
อันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฎในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือการปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้นเมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่า
เป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์
ข้อเสีย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบเทวสิทธ์ที่สะท้อนเป็นมรดกต่อการปกครองมาจนกระทั่งปัจจุบันคือได้สร้างสภาพจิตใจคนไทยให้มีความนิยมนับถือในตัวบุคคลมากกว่าหลักการเกินไปซึ่งเป็นสภาพจิตใจที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดนิสัยราษฎรเลือกผู้ปกครองของตนโดยอารมณ์ในด้านความชอบพอรักใคร่ยกย่องนับถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าในเรื่องหลักเกณฑ์และอุดมการณ์
ข้อน่าสังเกต อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับการปกครองระบบเทวสิทธิ์ที่มีต่อการปกครองปัจจุบันระบบโครงสร้างของประชาคมไทยประกอบด้วยชนชั้นใหญ่ ๆ เพียง 2 ชั้น คือชนชั้นปกครองและชนชั้นถูกปกครอง ชนชั้นปกครองนั้นได้แก่ พระมหากษัตริย์ในฐานะเป็นองค์ประมุขของชาติกับบรรดา
ข้าราชการทั้งหลาย ส่วนชนชั้นถูกปกครองคือ บรรดาเกษตรกรพ่อค้าและประชาชนทั่วไปอย่างไรก็ดี
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นไม่ใคร่ มีทั้งนี้เพราะชนชั้นถูกปกครองยอมรับสถานะตนอันเป็นผลทำให้
ประชาชนคอยพึ่งบริการจากทางราชการอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะขาดกลุ่มผลประโยชน์ที่จะคอย
รักษาผลประโยชน์แทนประชาชน จึงเกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นถูกปกครองทั้งยัง
เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึง แนวโน้มในทางที่ประชาชนต้องเป็นผู้อยู่ใต้ปกครองในลักษณะนี้ตลอดไปการ
ที่ปล่อยให้เกิดช่องว่างเช่นนี้ ทำให้บรรดาข้าราชการซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครองต้องรับภาระเป็นผู้ปกป้อง
ผลประโยชน์ของประชาชนตลอดไป ในลักษณะเช่นนี้สภาพความนึกคิดระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้
ปกครองมักมองไปคนละแง่คนละมุมความต้องการของประชาชน จึงมักเป็นสิ่งที่รัฐหยิบยื่นให้เสียเป็น
ส่วนใหญ่ แต่ความต้องการจะสนองเจตนารมณ์ของประชาชน หรือไม่ก็เป็นความยากลำบากอยู่ไม่น้อย
ที่จะทราบได้ ต่อจากสมัยกรุงศรีอยุธยาก็จะถึงสมัยกรุงธนบุรีในสมัยนี้การจัดระเบียบการปกครองทั้ง
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคก็คงถือหลักที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะนับตั้งแต่พระเจ้าตากสินทรง
เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว บ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบมีหัวเมืองบางแห่งแข็งเมืองคิดขบถจึงต้องเสีย
เวลาไปปราบปรามหลายครั้ง มิหนำซ้ำพม่ายกกองทัพมาตีเมืองไทยอยู่เสมอก็ต้องเสียเวลายกกองทัพ
ไปทำศึกกับพม่าอยู่เสมอพระองค์ จึงไม่มีโอกาสที่จะทำนุบำรุงประเทศและปรับปรุงการปกครองเ ลย

ยุคสมัยกรุงสุโขทัย







การปกครองตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน

สภาพการปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็นระยะที่สำคัญ ดังนี้

1. ระยะที่ 1 ยุคก่อนราชอาณาจักรสุโขทัย (ก่อนปี พ.ศ. 1761)

ในระยะก่อนปี พ.ศ. 1761 อำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เขมรมีการปกครองแบบราชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะส่งส่วยเป็นบรรณาการให้แก่พระนครหลวง ขณะเดียวกันบางถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตัวเองแบบนครรัฐ กลุ่มชนคงไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครองบริเวณที่มีความสำคัญได้แก่ เมืองศรีเทพ บริเวณวัดจุฬามณี และบริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย

2. ระยะที่ 2 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1761-1921)

การปกครองในยุคนี้วางรากบานลงแบบการปกครองครัวเรือน จุดเริ่มต้นเริ่มที่ พ่อครัว ทำหน้าที่ปกครอง ครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันเป็น เรือน หัวหน้าก็คือ พ่อเรือน หลาย ๆ เรือนรวมกันเป็นหมู่บ้านมีหัวหน้าเรียกว่า พ่อบ้าน หลาย ๆ หมู่บ้านรวมกันเรียกว่า เมือง หัวหน้าคือ พ่อเมือง และพ่อขุน คือผู้ปกครองประเทศ หรือผู้ปกครองทุกเมืองนั่นเอง

แม้ว่าอำนาจสูงสุดและเดขาดจะรวมอยู่ที่พ่อขุนเพียงคนเดียว แต่ด้วยการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง พ่อขุนปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตร คือ ถือตนเองเป็นพ่อของราษฎร พ่อขุนเกือบทุกพระองค์ใช้อำนาจในลักษณะให้ความเมตตาและเสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร

อาณาเขตของสุโขทัย ในแผ่นดินสุโขทัยกว้างขวางใหญ่โตมาก

ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่า ...มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออกรอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจายสคาเท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอนรอดคนที พระบางแพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรีศรีธรรมราช ฝั่งทะเลเป็นทีแล้ว เบื้องตะวันตกรอดเมืองแอด เมืองหงสาวดีสมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอนรอดเมืองแพร่ เมืองมาน เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชาว...นักประวัติศาสตร์ทั่วไปเชื่อว่า สุโขทัย เป็นราชธานีแห่งแรกของชาวไทยในแหลงอินโดจีนตอนกลาง และลักษณะการปกครองหัวเมืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ล้อมรอบราชธานี ทั้ง 4 ด้าน คือ ศรีสัชนาลัย (ด้านหน้า) สองแคว (ด้านตะวันออก) สระหลวง (ด้านใต้) และชากังราว (ด้านตะวันตก) การปกครองหัวเมืองชั้นในนั้นขึ้นอยู่กับสุโขทัยโดยตรง

2. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานคร ที่มีผู้ดูแลโดยตรงแต่ขึ้นอยู่กับสุโขทัย ในรูปลักษณะของการสวามิภักดิ์ในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองออก หัวเมืองชั้นนอกมี แพรก อู่ทอง ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสัก เพชรบูรณ์ และศรีเทพ

3. เมืองประเทศราช ได้แก่เมืองที่เป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองขึ้นกับสุโขทัย ในฐานะประเทศราช มีนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน เซ่า เวียงจันทน์ และเวียงคำ

3. ระยะที่ 3 ยุคอาณาจักรสุโขทัยตอนหลาย (พ.ศ. 1921-1981)

ในปี พ.ศ. 1921 ซึ่งตรงกับสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ของพาราจักรสุโขทัย ได้ยอมอยู่ใต้อำนาจการปกครองของอยุธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรบทีเมืองชากังราวที่กระมหาธรรมราชาออกถวายบังคมต่อพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรอยุธยาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นครั้งนี้ที่สำคัญ คือ การที่อยุธยาพยายามทำลายศูนย์กลางของอาณาจักรสุโขทัย คือ แบ่งแยกอาณาจักสุโขทัยเป็น 2 ส่วน คือ

1. บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ให้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสองแคว ให้กษัตริย์ของสุโขทัยปกครองต่อไป และอยู่ในอำนาจของอยุธยาในฐานะประเทศราช

2. บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ให้มีศูนย์กลางที่เมืองชากังราว และขึ้นตรงต่ออยุธยาขณะเดียวกันอยุธยาก็พยายามผนวกอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา และประสบความสำเร็จในสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) สำหรับลักษณะการปกครองที่ปรากฏในระยะนี้ เป็นแบบผสมระหว่างสุโขทัย และรับอิทธิพลการปกครองแบบราชาธิปไตยของอยุธยาเข้าไปด้วย ในระยะนี้นับว่าเมืองสองแควมีความสำคัญที่สุดขณะเดียวกันเมืองสุโขทัยเก่าก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญลง

4. ระยะที่ 4 ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2537)

ในยุคนี้แนวความคิดเกี่ยวกับกษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งพวกเขมรเป็นผู้นำมาโดยถือว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ หรือเป็นพระเจ้าบนมนุษย์โลก ลักษณะการปกครองจึงเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือเจ้าปกครองข้า

ในสมัยพระบรมรามาธิบดีที่ 1 ทรงวางระบบการปกครองส่วนกลางแบบ จตุสดมภ์ ตามแบบของขอม มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการมีหน้าที่ดังนี้...

1. เมือง รับผิดชอบด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามโจรผู้ร้าย

2. วัง มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนักและตัดสินคดีความต่าง ๆ

3. คลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านคลัง การค่าและภาษีอากรประเภทต่าง ๆ

4. นา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการเกษตร

สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองต่าง ๆ ในระยะแรกพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลียนแบบการปกครองของสุโขทัย คือ มีหัวเมืองชันใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช แต่ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทำการปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ให้มีลักษณะการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวงมากขึ้น โดยขยายอาณาเขตให้หัวเมืองชั้นในกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม หัวเมืองชั้นนอกกำหนดเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลำดับตามขนาดและความสำคัญของเมือง โดยทางส่วนกลางจะส่งขุนนาง หรือพระราชวงศ์ไปทำการปกครองแต่สำหรับเมืองประเทศราช ยังปล่อยให้มีอิสระในการปกครองเช่นเดิม นอกจากนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงปรับปรุงระบบบริหารขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารออกเป็นฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบด้านพลเรือน บริหารกิจการเกี่ยวกับเมือง วัง คลัง และนา และมีสมุหกลาโหมรับผิดขอบด้านการทหารและการป้องกันประเทศ แต่ภายหลังในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราว พ.ศ. 2234 ทั้งสมุหนายกและสมุหกลาโหมต้องทำงานทั้งด้านทหารและพลเรือนพร้อมกัน โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายก ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ

ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเป็นต้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 1981-2437) ฐานะของเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรสุโขทัย เดิมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและความสำคัญของเมือง คือ

1. หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองสองแคว

2. หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์

3. หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์)

5. ระยะที่ 5 ยุคการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2437-2476)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน โดยได้ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม รวมทั้งจตุสดมภ์ด้วย ได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นกระทรวง ตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวง

หลังจากจัดหน่วยบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศและคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้วการจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็จัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่ง ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค ในสมัยนั้นการปกครองแบบเทศาภิบาล เป็นการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่ง ที่ส่วนกลางจัดส่งข้าราชการส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ โดยได้แบ่งการปกครองประเทศ เป็นขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นอันดับไป คือ เป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองถัดจากมณฑล คือเมือง (สมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่าจังหวัด) มีเจ้าเมือง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เป็นผู้ปกครองเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง ทั้งสามส่วนนี้ปกครองโดยข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย อำเภอนั้นแบ่งออกเป็นตำบล มีกำนัน ซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ใหญ่บ้านเลือกเป็นผู้ปกครองตำบล แบ่งออกเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้ปกครอง

ในปี พ.ศ. 2437 เป็นปีแรกที่ได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จ กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น 3 มณฑล คือ มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา มณฑลพิษณุโลก (เมืองที่อยู่ในมณฑลนี้ได้แก่ เมืองพิจิตร เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก) และทรงโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเยขึ้นกับกระทรวงกลาโหมและกระทรวงต่างประเทศมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเดียว จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2438 ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2493 ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก 2 มณฑล คือ มณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลชุมพร

พ.ศ. 2440 ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออกเป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง

พ.ศ. 2443 ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่า ๆ ที่เหลืออยู่อีก 3 มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล

พ.ศ. 2447 ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่าสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

พ.ศ. 2449 จัดตั้งมณฑลปัตตานี และมณฑลจันทบุรี (มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด)

พ.ศ. 2450 ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. 2455 ได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบลและมณฑลร้อยเอ็ด

พ.ศ. 2458 จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

6. ระยะที่ 6 ยุคหลัง พ.ศ. 2475

การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมืองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบบประชาธิปไตยนั้นปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริการ เมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลด้วย เมื่อได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกเนื่องจาก

1. การคมนาคม สื่อสาร สะดวกรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง

2. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง

3. เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวงเป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น

4. รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขั้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง

5. ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้

5.1 จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่

5.2 อำนาจบริหารในจังหวัดซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคล ได้แก่ คณะกรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมใอยู่กับบุคคลคนเดียว คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

5.3 ในฐานะของกรมการจังหวัด ซึ่งเดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด และอำเภอ

กล่าวโดยสรุปการปกครองส่วนภูมิภาค อาศัยกฎหมาย 2 ฉบับ เป็นแม่บท คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2519 ซึ่งกำหนดรูปแบบของหน่วยบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

7. ระยะที่ 7 ยุคปัจจุบัน

ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน การปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้จัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

2. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้กำหนดให้รูปแบบการปกครองตำบลเป็นนิติบุคคล มีผู้แทนประชาชนจากหมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบเป็นสภาตำบล ทำหน้าที่บริหารงานของตำบล ส่วนตำบลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดได้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้จังหวัดสุโขทัยมีองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 77 แห่ง โดยได้จัดตั้งดังนี้

1. ปี พ.ศ. 2538 จำนวน 1 แห่ง

2. ปี พ.ศ. 2539 จำนวน 45 แห่ง

3. ปี พ.ศ. 2540 จำนวน 31 แห่ง

4. ปี พ.ศ. 2541 มีสภาตำบลจำนวน 6 แห่ง

3. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้ปรับปรุงรูปแบบการบริหาร โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้ง


ความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ

จากการศึกษาร่องรอยทางโบราณและโบราณวัตถุ ศิลาจารึก และตำนานพงศาวดารท้องถิ่นหลายฉบับทำให้เข้าใจว่า ระยะก่อนปี พ.ศ. 1761 นั้น ปรากฏว่าอำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

อาณาจักรเขมรมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อาณาจักเขมรมีการปกครองแบบประชาธิปไตย กษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวาร โดยเมืองบริวารจะต้องส่งส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการให้แก่นครหลวง ขณะเดียวกับบางท้องถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตนเอง กลุ่มชนมีขนาดไม่ใหญ่โต ผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครอง ไม่มีความซับซ้อนในการปกคอรงเพราะประชาชนยังมีน้อย บริเวณที่มีความสำคัญในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง คือ

1. บริเวณเมืองศรีเทพ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีซากโบราณสถานเป็นปรางค์ที่สร่างด้วยศิลาแลงและอิฐ รวมทั้งเทวรูปศิลาหลายองค์ ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปกรรมแบบเขมร

2. บริเวณเมืองสองแคว (พิษณุโลก) ซึ่งปรากฏมีโบราณสถานเป็นศิลปกรรมแบบเขมร ได้แก่ พระปรางค์วัดจุฬามณี ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลง

3. บริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีโบราณสถานที่เป็นศิลปกรรมแบบเขมร คือ พระปรางค์วัดเจ้าจันทร์ พระปรางค์ 3 องค์วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดง และฐานพระปรางค์วัดศรีสวาย เมืองเก่าสุโขทัย เป็นต้น

สุโขทัยในฐานะที่เป็นแคว้นทางการปกครองอย่างเป็นเอกเทศ ได้ปรากฏรูปร่างขึ้นมาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อวีรบุรุษไทย 2 คน คือ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง สหายทั้ง 2 ท่าน ได้ร่วมมือกันยึดเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยคือมาจากข้าศึกที่ชื่อว่า ขอมสบาดโขลญลำพง

เมืองสุโขทัยเดิม พญาศรีนาวนำถมเป็นเจ้าเมืองครองอยู่ แต่ครั้งเมื่อพญาศรีนาวนำถมถึงแก่กรรมลง ได้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้น โดยต้องตกอยู่ในอำนาจปกครองของขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้น พ่อขุนผาเมืองผู้เป็นโอรส จึงได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวยึดอำนาจคือ สำหรับพ่อขุนผมเองนั้นนอกจากเป็นโอรสของเจ้าเมืองสุโขทัยเก่าและเป็นเจ้าเมืองราดแล้ว ยังดำรงฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมร และได้รับมอบนามเกียรติยศคือ ศรีอินทราบดินทราทิตย์ กับพระขรรค์ชัยศรีจากกษัตริย์เขมรด้วย

เมื่อทั้งสองยึดเมืองศรีสัชนาลัยกับสุโขทัยได้แล้ว พ่อขุนผาเมืองจึงได้มอบเมืองสุโขทัยให้สหายตนครอบครอง พร้อมทั้งนามเกียรติยศตนให้แก่สหาย ส่วนตัวเองกลับไปครองเมืองราดเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงได้เป็นที่รู้จักกันภัยหลังในนามว่า ศรีอินทราบดินทราทิตย์หรือ ศรีอินทราทิตย์

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครอบคอรงสุโขทัยเป็นศุนย์กลางมีอำนาจอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงตอนล่าง ทรงมีโอรสที่ปรากฏนามอยู่สองพระองค์ คือ พ่อขุนบานเมือง ผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อง

ในขณะนั้นบ้านเมืองยังอยู่ในความไม่สงบ ยังมีผู้นำของกลุ่มชนอิสระอยู่อีกหลายกลุ่มที่คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่ ดังนั้น ในการรวบรวมกลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันจึงต้องมีการทำสงครามต่อสู้กัน ดังเช่นครั้งหนึ่งเมื่อพ่อขุนรามราช อายุได้ 19 ปี ประมาณปี พ.ศ. 1800 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตีเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตปกครองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครั้งนั้นพ่อขุนรามราชได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบด้วย และสามารถชนช้างชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงหนามพ่อขุนราชราชว่า พระรามคำแหง

เมื่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่อยู่ในช่วงระยะสั้น ๆ ไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นประชนม์ ในปี พ.ศ. 1822 พ่อขุนรามคำแหง จึงได้ครองราชย์ต่อมาและได้ทรงเป็นมหาราชพระองค์แรงของชนชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือกว่าในรัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วง ราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง

ทิศเหนือ อาณาเขตถึงเมืองหลวงพระบาง โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองปัว

ทิศใต้ อาณาเขตถึงฝั่งทะเลสุดเขตมาลายู โดยมีเมืองต่าง ๆ คือ เมืองคนที เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองเพชรบุรี และเมืองนครศรีธรรมราช

ทิศตะวันออก อาณาเขตถึงเมืองเวียงจันทน์ และเมืองเวียงคำ โดยมีเมืองสระหลวง เมืองสองแคว เมืองลุมบาจาย และเมืองสคา

ทิศตะวันตก อาณาเขตถึงเมืองฉอด และเมืองหงสาวดี

ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช บ้านเมืองอยู่อย่างสงบ มีความร่วมเย็นเป็นสุขดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวการพาณิชย์เจริญก้าวหน้า พระองค์ได้ทรงวางระเบียบปกครองบ้านเมือง ทั้งยังประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 กับทั้งทรงดูแลการเพิ่มผลผลิตของประชากร เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาณาจักร

พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พญาเลอไท ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ในขณะที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชครองราชสมบัติอยู่ เมือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตในราว พ.ศ. 1842 เมืองต่าง ๆ ที่เคยอยู่ในอำนาจของอาณาจักรสุโขทัย ได้แตกแยกกันออกเป็นอิสระทำให้เสถียรภาพของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะที่คับขัน กษัตริย์ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พญาไสสงคราม การที่เมืองต่าง ๆ พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงพยายามแยกตัวออกไป แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เกิดความยุ่งยากในราชวงศ์ก็ขึ้นอยู่กับการปกครองเป็นสำคัญ เพราะการปกครองในสมัยนั้นเป็นแบบนครรัฐ คือแต่ละเมืองก็มีผู้ปกครองนครเป็นอิสระเข้ามารวมกันได้ก็เพราะศรัทธาในกษัตริย์องค์เดียวกันเท่านั้น

หลังจากรัชกาลของพญาไสสงครามแล้ว พญาเลอไทได้ครองราชสมบัติต่อมาราว พ.ศ. 1866 ซึ่งน่าจะต้องดำเนินนโยบายในการพยายามรวบรวมอาณาจักรเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 18 ปี ที่พระองค์ครองราชสมบัติอยู่นั้นไม่มีรายละเอียดปรากฏอยู่มากนัก พระองค์สวรรคตราวปี พ.ศ. 1884

ต่อจากรัชกาลพญาเลอไทย มีกษัตริย์ที่ออกพระนามในศิลาจารึกอีกพระองค์หนึ่ง คือ พญางัวนำถม ในฐานะพระอนุชาแต่เป็นโอรสของพ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองเมืองสุโขทัยและได้โปรดให้พญาลิไท ผู้เป็นโอรสของพยาเลอไทไปครองเมืองศรีสัชนาลัยในฐานะอุปราชครองเมืองลูกหลวง เมื่อพญางัวนำถมสวรรคตในราว พ.ศ. 1890 เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในราชสำนักกรุงสุโขทัยที่ไม่ชอบตามขนมธรรมเนียม บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แสดงตัวอย่างเปิดเผยถึงการดำรงอยู่อย่างอิสระ ไม่ยอมขึ้นกับส่วนกลาง พยาลิไทยจึงลอยเสด็จยกทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยใช้กำลังเข้าขึดเมืองไว้ได้ แล้วปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์กรุงสุโขทัย ทรงพระนามว่า ศรีสุริพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราชเมืองครองกรุงสุโขทัยแล้วทรงปราบปรามเจ้าเมืองต่าง ๆ ภายในเขตแคว้นแล้วแต่งตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ที่ไว้วางพระราชหฤทัย ไปปกครองรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ กรุงสุโขทัย บ้านเมืองจึงอยู่ด้วยความสงบเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง

ความพยายามของพระมหาธรรมราชาลิไท ภายหลังขึ้นครองราชสมบัติแล้ว คือ ความมุ่งหวังที่จะรวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แตกแยกกันออกไปให้กลับเข้ามารวมในอาณาจักรเดียวกันอีก และมีความหวังว่าจะให้มีอาณาเขตใหญ่โตเท่กับสมัยพ่อขุนรามคำหงมหาราช จนถึงกับเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่และกระทำกิจทางศาสนา ซึ่งขณะเดียวกันก็แสดงให้เมืองต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จไปเห็นว่า พระองค์มีแสนยานุภาพและมีพระราชอำนาจเต็มในกิจการต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ เช่นในปี พ.ศ. 1902 พระองค์เสด็จยกทักไปตีเมืองแพร่ กวาดต้อนครัวเรือนมาเป็นข้าพระทีวัดป่าแดงศรีสัชนาลัย และในปีนั้นก็ได้ประดิษฐ์รอยพระพุทธบาทจำลองที่เขาสุมนกูฎ เมืองสุโขทัย

ในฐานะผู้ครอบครองแคว้นสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงพยายามดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท พ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ เป็นทั้งนักปราชญ์ผู้สนพระทัยในทางศาสนา โดยให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ ที่พระองค์ต้องการเป็นพันธมิตรด้วย เช่น เมืองน่าน หลวงพระบาง และกรุงศรีอยุธยา แต่ขณะเดียวกันก็ได้สดวงบทบาทของการเป็นนักรบที่พยายามขยายอำนาจของแคว้นสุโขทัยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในสมัยของพระองค์ นอกจากจะได้ยกทัพไปตีเมืองแพร่ทางทิศเหนือแล้ว ทางทิศตะวันออก ได้พยายามขยายขอบเขตออกไปถึงเมืองลุ่มแม่น้ำป่าสัก จากบทบาทการเป็นนักรบของพระองค์ที่ขยายพระราชอำนาจไปยังเมืองลุ่มแม่น้ำป่าสักนี้เอง ทำให้กระทบกระทั่วกับกรุงศรีอยุธยา ที่มีความเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองแถบนั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จึงเสด็จลอบยกทัพมายึดเมืองสองแควไว้ได้ และได้โปรดให้ขุนหลวงพ่องั่วพระเชษฐาของพระมเหสี ซึ่งขณะนั้นครองเมืองสุพรรณบุรี มาปกครองเมืองสองแคว ทำให้พระมหาธรรมราชาลิไท ต้องถวายบรรณาการเป็นอันมาก ในที่สุดสมเด็จพระรามิบดีที่ 1 จึงทรงมอบเมืองสองแควคือ และโปรดให้ขุนหลวงพ่องั่วไปครองเมืองสุพรรณบุรีดังเดิม

ในการคืนเมืองสองแควนั้น สมเด็จพระรามิบดีที่ 1 ทรงตั้งเงื่อนไขว่า พระมหาธรรมราชาลิไท ต้องเสด็จไปประทับที่เมืองสองแคว จึงเป็นเหตุให้แคว้นสุโขทัยที่เริ่มจะรวมตัวกันได้ต้องสั่นคลอน เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทเสด็จไปประทับอยู่เมืองสองแควได้โปรดให้พระอนุชาปกครองเมืองสุโขทัยแทน

ในปี พ.ศ. 1912 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สวรรคต สมเด็จพระราเมศวรขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อพระมหาธรรมราชาลิไททรงทราบ จึงคาดสถานการณ์ว่า ทางกรุงศรีอยุธยาต้องมีเหตุไม่เรียบร้อยขึ้นแน่ พระองค์จึงรวบรวมพลจากเมืองต่าง ๆ ในแคว้นสุโขทัยที่เจ้าเมืองยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์ เสด็จยกพลมายังกรุงสุโขทัย การเสด็จกลับคืนสุโขทัยในครั้งนี้ หลังจากที่ต้องทรงประทับอยู่ที่เมืองสองแควถึง 7 ปี จึงเป็นการเตรียมการที่จะใช้ตำแหน่งของเจ้าเมืองสุโขทัย อันเป็นบัลลังก์ที่บรรพบุรุษของพระองค์ได้สั่งสมอำนาจไว้นั้น เพื่อเป็นศูนย์ลางในการระดดมกำลังก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยมีฐานะมั่นคงสืบไป พระองค์ทรงเริ่มบทบาทโดยการเป็นพันธมิตรกับแคว้นล้านนา ซึ่งขณะนั้นมีพระเจ้ากือนา เป็นกษัตริย์ปกครอง โดยพระองค์ได้ส่งตระสุมนะเถระเป็นสมณะทูตขึ้นไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เมืองเชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 1913 ขุนหลวงพ่องั่ว ซึ่งขึ้นครองเมืองสุพรรณบุรี ได้เห็นความเคลื่อนไหวของพระมหาธรรมราชาลิไทที่กรุงสุโขทัย พระองค์จึงเข้ายึดอำนาจกรุงศรีอยุธยาด้วยความยินยอมของสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งได้ทรงกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม ขุนหลวงพ่องั่วเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1

พระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จสวรรคตเมื่อปีใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1913-1916 หลังจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยเกิดความแตกแยกเนื่องจากขาดผู้นำอาณาจักรที่เป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้องที่ครองเมืองต่าง ๆ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงเสด็จขึ้นมายึดอาณาจักรสุโขทัยได้ทั้งหมด หากแต่ยังโปรดให้เชื้อพระวงศ์ทางสุโขทัยปกครองตนเอง โดยขึ้นตรงกับอาณาจักรอยุธยา คือพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งในสมัยของพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะเป็นรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรเชียงใหม่กับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งต่างก็แสดงความเคลื่อนไหวในการที่จะผนวกเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยตลอดเวลา ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) พระองค์ทรงเกรงว่าอาณาจักรสุโขทัยจะมีไมตรีกับอาณาจักรเชียงใหม่เพราะหากทั้งสองอาณาจักรร่วมมือกันแล้วจะทำให้อาณาจักรอยุธยาอยู่ในฐานะลำบาก จึงทรงยกทัพมาปราบปรามหัวเมืองชายแดนที่ติดต่อกับอาณาเขตของสุโขทัย และหาเหตุเข้าโจมตีเมือง ในอาณาจักรสุโขทัยด้วยตามพงศาวดารอยุธยากล่าวว่า

พ.ศ. 1914 สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพ่องั่ว) มีชัยชนะต่อหัวเมืองเหนือทั้งปวง

พ.ศ. 1915 อยุธยายกทัพไปตีเมืองนครพังคา และเมืองแสงเชรา

พ.ศ. 1916 อยุธยายกทัพไปตีเมืองชากังราว พญาไสแก้ว กับพญาคำแหงสู้รบป้องกันเมืองจนพญาไสแก้วเสียชีวิตในที่รบ พญาคำแหงถอยทัพกลับเข้าเมืองได้

พ.ศ. 1918 อยุธยายกทัพไปตีเมืองพิษณุโลก ขุนสามแก้ว เจ้าเมืองพิษณุโลกถูกจับได้ ทัพอยุธยาได้เมืองและกวาดต้อนผู้คนจากเมืองพิษณุโลกกลับมามาก

พ.ศ. 1919 อยุธยาไปตีเมืองชากังราวครั้งที่สอง คราวนี้กองทัพพญาผากองเจ้าเมืองน่านมาช่วยรบร่วมกับพญาคำแหงด้วย แต่ก็ไม่สามารถสู้กองทัพอยุธยาได้ พญาผาเมืองยกกองทัพหนีไป กองทัพอยุธยาตามจับตัวแม่ทัพนายกองได้มาก

พ.ศ. 1921 อยุธยายกกองทัพไปตีเมืองชากังราว เป็นครั้งที่ 3 พระมหาธรรมราชา ยกกองทัพออกมาป้องกันเมืองด้วยพระองค์เอง แต่ก็ต้อยยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพอยุธยา จนถึงกับต้องยอมถวายบังคมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรอยุธยา

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 2 ยอมถวายบังคมต่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งอยุธยาแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัยยิ่งลดน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะถูกอาณาจักรอยุธยาจำกัดอำนาจลงกับรวมทั้งการที่กษัตริย์สุโขทัยย้ายที่ประทับอยู่ที่เมืองสองแควด้วย

พระมหาธรรมราชาที่ 2 สวรรคตราว พ.ศ. 1942 และพญาไสสือไทยขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาที่ 3 อาจกล่าวได้ว่าภายหลังที่ทางอาณาจักรอยุธยาตัดกำลังหัวเมืองต่าง ๆ ของของสุโขทัยลงแล้ว เสถียรภาพทางการเมืองของอาณาจักรสุโขทัยก็ทรงลงและยากที่จะแก้ไขให้มั่นคงขึ้นได้ เนื่องจากอาณาจักรอยุธยาสามารถขยายตัวออกไปได้อย่างกว้างขวางแต่ถึงกระนั้น พระมหาธรรมราชาที่ 3 ก็ได้ทรงกูเสถียรภาพทางการเมืองของสุโขทัย โดยได้ทรงยกองทัพออกไปกราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ให้อยู่ในอำนาจแม้จะไม่ได้มากเท่ากับครั้งพญาลิไทก็ตาม แต่พระองค์ก็ได้ทำสงครามหลายครั้ง รวมทั้งเคยยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1945 ด้วย ซึ่งไม่จะไม่ได้ผลทางชัยชนะเลยก็ตาม แต่เป็นการแสดงถึงความพยายามในการสร้างอาณาจักรให้มีเสถียรภาพมายิ่งขึ้นกว่าการเป็นรัฐกันชนขนาดเล็กที่อาจถูกผนวกไปอยุ่กับดินแดนของอาณาจักรใดอาณาจักหนึ่งได้

พญาไสสือไท ทรงมีพระราชโอรสสองพระองค์ คือ พญาบาล และพญาราม หลังจากที่พญาไสสือไทเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 1962 ก็เกิดจลาจลแย่งชิงราชสมบัติสมเด็จพระนครินทรราชาธิราช (พระอินทราชาธิราช) กษัตริย์อยุธยาต้องยกทัพมาปราบจลาจลโดยยกทัพไปถึงพระบาง (นครสวรรค์) พญาบาล และพญาราม ต้องออกมากราบบังคมต่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราชจึงโปรดให้สถาปนาพญาบาลครองเมืองพิษณุโลก ทรงพระนามว่าพระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช และพญารามโปรดให้ครองเมืองสุโขทัย

พระเจ้าศรีสุริยวงศ์บรมปาลครองราชสมบัติอยู่19 ปี จึงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1981 การสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาล (พระมหาธรรมราชาที่ 4) นักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคอาณาจักรสุโขทัยด้วย

เมื่อพระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลสวรรคตสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) จึงโปรดให้สถาปนาพระราเมศวรราชโอรสซึ่งประสูติจากเจ้าหญิงสุโขทัยพระองค์หนึ่ง ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองสองแคว ทั้งนี้เพราะทรงเห็นว่าเป็นพระราชโอรสที่มีเชื้อสายทางเจ้านายฝ่ายสุโขทัย คงจะเข้ากับทางราชวงศ์สุโขทัยได้ดี และเท่ากับเป็นการผนวกดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยในตัวไปด้วย

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เสด็จสวรรคตเมือปี 1991 พระราเมศวรอุปราช จึงเสด็จจากเมืองสองแควไปครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ส่วนที่เมืองสองแควโปรดให้พระยุษธิฐิระ โอรสของพญารามเป็นเจ้าเมือง แต่ก็ทรงรวมอำนาจจาการบริหารราชการแผ่นดินเข้าสู่ส่วนกลางที่กรุงศรีอยุธยา ฝ่ายพระยุษธิฐิระไม่พอใจอย่างมากที่เป็นเพียงเจ้าเมืองสองแคว จึงหันไปผูกมิตรกับพระเจ้าติโลกราชเมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรเชียงใหม่ ตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกลุ่มหัวเมืองเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเสด็จขึ้นมาครองเมืองสองแคว และโปรดให้พระอินทราชาครองกรุงศรีอยุธยาแทนพระองค์ ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ทรงเปลี่ยนแปลงฐานะของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในอาณาจักรสุโขทัยเดิมเสียใหม่คือ

1. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นเอก คือ เมืองสองแคว

2. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นโท คือ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองชากังราว และเมืองเพชรบูรณ์

3. เมืองที่อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ เมืองพิชัย เมืองสระหลวง และเมืองพระบาง

จะเห็นได้ว่าในบรรดาหัวเมืองในอาณาจักรสุโขทัยเดิม เมืองสองแควนับว่าเป็นเมืองที่สำคัญที่สุด ขณะเดียวกันเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย อยู่ในฐานะหัวเมืองชั้นโทได้ลดความสำคัญลง

เมืองสุโขทัยยังคงมีประชาชนอาศัยอยู่สืบมา จนกระทั่งในสมัยราชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา แต่อยู่ในฐานะที่ต้องส่งส่วยอากรและผลผลิตให้แก่อยุธยาบ้าง เก็บผลประโยชน์ให้พม่าบ้าง ตามเหตุการณ์ของสงคราม จวบจนกระทั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 พระองค์ได้โปรดให้กวาดต้อนคนจากหัวเมืองเหนือลงไปไว้เมืองอยุธยาทั้งหมด เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีกำลังน้อย และเพื่อเป็นการป้องกันมิให้พม่าใช้กำลังจากหัวเมืองเหนือเป็นบานในการสนับสนุนส่งกำลังบำรุง ทำให้สุโขทัยต้องกลายเป็นเมืองอ่อนกำลงลง

การที่สุโขทัยอ่อนกำลังลงเช่นนี้ เป็นผลให้บรรดาสิ่งก่อสร้าง ปราสาทราชวงวัดวาอาราม คูเมือง กำแพงเมือง และระบบชลประทานต่าง ๆ ถูกภัยธรรมชาติทำลายให้เสียหาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเห็นว่าศิลปโบราณวัตถุทางศาสนา เช่น เทวรูปและพระพุทธรูปที่งดงามถูกทอดทิ้งจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายประติมากรรมล้ำค่าเหล่านั้น ไปประดิษฐ์ฐานตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ศิลปกรรมของเมืองสุโขทัยส่วนหนึ่ง จึงเก็บรักษาอยู่ในกรุงเทพมหานครสืบมา จนกระทั่งบัดนี้ สิ่งที่เหลือเป็นอนุสรณ์ของความยิ่งใหญ่ของเมืองในอดีตมีเพียงแต่ซากของสถาปัตยกรรมที่ปรักหักพังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์

เขตพื้นที่ จังหวัดสุโขทัยมีผู้คนมาพักอาศัยและตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัย สมัยทวาราวดี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
บริเวณที่ราบตอนล่างของภาคเหนือของไทย เคยเป็นดินแดนที่มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบเครื่องมือหินที่เขาขน เขากา ในเขตตำบลนครดิฐ อำเภอศรีนคร แหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย บ้านบึงหญ้า ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ ฯลฯ ชุมชนเหล่านี้อยู่ต่อเนื่องกัน และตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา ได้มีการติดต่อกับดินแดนอื่นในแถบบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบทวาราวดี โดยได้พบโบราณวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน ได้แก่ลูกปัด เครื่องมือสำริด เหล็ก เงินเหรียญที่มีรูปพระอาทิตย์ รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์ ที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นในเขตเมืองเชลียง ซึ่งมีแท่งดินเผามีลวดลาย
จากการพบโบราณสถานในศิลปะขอมที่บ้านนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ชาวบ้านเรียกว่า ปรางค์เขาปู่จ่า และศาลาตาผาแดง ในเขตเมืองเก่าสุโขทัย แสดงว่าในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการติดต่อกับอาณาจักรขอมแล้ว
ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปรากฏเรื่องการตั้งตนเป็นอิสระเพื่อปกครองสุโขทัยของกลุ่มชน ซึ่งต่อมาเป็นบรรพชนของคนไทยในปัจจุบัน


พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสุโขทัย
เส้นทางคมนาคมและการค้าให้กำเนิดแคว้นสุโขทัย มีเส้นทางสำคัญสองเส้นทางคือเส้นทางข้ามหุบเขา ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศทางตะวันออก - ตะวันตก เป็นเส้นทางเก่าแก่ใช้เดินทางกันมาแต่ครั้งโบราณ ระหว่างกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขง กับกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำน่าน และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน
มีกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำโขงเคลื่อนย้ายไปตั้งถิ่นฐานบนเส้นทางสายเป็นหย่อม ๆ แล้วค่อย ๆ ทะยอยเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำน่าน บริเวณเขตจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาได้เกิดเป็นบ้านเมือง และได้กลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของแคว้นสุโขทัย
เส้นทางแรกเชื่อมโยงผู้คนจากเขตเมืองหลวงพระบาง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ลงใต้สู่ปากลาย ทุ่งยั้ง เชลียง และสุโขทัย อีกสายหนึ่งคือเส้นทางจากหลวงพระบาง ปัว น่าน แพร่ สุโขทัย ตาก ไปสุดทางที่ริมฝั่งทะเลอันดามันที่มะละแหม่ง
เส้นทางข้ามหุบเขาสายตะวันออก - ตะวันตก เริ่มจากลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอิสานตอนบน รวมทั้งกลุ่มเมืองเวียงจันทน์ผ่านเทือกเขาภูพาน ในเขตจังหวัดอุดรธานี เข้าไปในเขตจังหวัดเลย ผ่านหุบเขาแถบอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ไปทางลำน้ำแควน้อย ซึ่งเป็นสาขาของลำน้ำน่าน ในเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึงลำน้ำน่านแล้ว ก็ล่องไปตามลำน้ำน่าน ผ่านเข้าเขตจังหวัดพิจิตร และนครสวรรค์ เข้าสู่บ้านเมืองเก่าสมัยทวาราวดี และลพบุรี บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ชาวไทยในภาคเหนือตอนล่างได้รวมตัวกันเป็นรัฐอิสระ มีความเจริญคู่เคียงกันมากับอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรอยุธยา มีศูนย์กลางการปกครองที่กรุงสุโขทัย ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง
มีหลักฐานว่าพ่อขุนศรีนาวนำถุม ได้เป็นกษัตริย์ครองสองนคร คือทั้งเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่าเจ้านายในตระกูลศรีนาวนำถุม มีความสัมพันธ์กับตระกูลศรีโคตรบูรณ์ในลุ่มแม่น้ำโขงของภาคอีสานตอนบน ที่มีเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำเป็นเมืองสำคัญ นอกจากนั้นก็มีหลักฐานพอเชื่อได้ว่า ตระกูลของพ่อขุนบางกลางหาวมีเชื้อสายตระกูลเมืองน่าน และเมืองหลวงพระบาง และเชื่อมโยงไปถึงตระกูลสุพรรณบุรี ที่ครองแคว้นสุพรรณภูมิ ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
อาณาจักรสุโขทัย มีหลักฐานตั้งแต่สมัยพ่อขุนนาวนำถุม และชัดเจนขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๘๑ - ๑๘๒๒ ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ราชวงศ์พระร่วง) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา ๒๐๐ ปี จึงถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๑) ได้แผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยเจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งได้บ่งถึงความเจริญด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การทหาร กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย และอื่น ๆ


ประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองเชลียง
ชะเลียง ภาษาขอมแปลว่ายืน ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ วัดศรีชุม ได้บันทึกเหตุการณ์ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี กล่าวถึงพ่อขุนนาวนำถุม เจ้าเมืองเชลียงว่า เป็นขุนในเมืองเชลียง ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกถึงพระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า ทรงสถาปนาศิลาจารึกไว้ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงอีกหลักหนึ่งว่า จารึกอันหนึ่งมีในเมืองเชลียง
เอกสารจดหมายเหตุอยุธยาได้กล่าวถึง เมือง เชลียง สุโขทัย ทุ่งย้าง บางยม สองแคว สระหลวง ชากังราว กำแพงเพชร
ทางด้านตะวันตกของเมืองเชลียงเป็นเทือกเขาพระศรี มีวัดโบราณสร้างด้วยศิลาอยู่บนยอดเขาเทือกเขาพระศรีนี้ พระศิริมังคลาจารย์ผู้แต่งชินกาลมาลีปรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙ เรียกนามภูเขานี้เป็นภาษาบาลีว่า สิริบรรพต
เมืองเชลียงมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองดังนี้
- ณ หมู่ที่ ๖ ตำบลศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๖๗๐ เป็นที่ตั้งของเมืองเชลียง
- สมัยสุโขทัย เรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองศรีสัชนาลัย
- เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗ อาณาจักรล้านนา สมัยพระเจ้าติโลกราชเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองเชียงยืน
- พ.ศ.๒๐๑๗ - ๒๓๒๔ กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรีเรียกเมืองโบราณแห่งนี้ว่า เมืองสวรรคโลก
- พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๗๘ กรุงรัตนโกสินทร์เรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองโบราณ บริเวณวัดเชิงคีรี และตำบลท่าชัยว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันชาวบ้านคงเรียกว่า บ้านเมืองเก่า
- พ.ศ.๒๓๗๙ - ปัจจุบันเรียกที่ตั้งจวนเจ้าเมืองบริเวณหมู่บ้านวังไม้ขอนว่า เมืองสวรรคโลก ปัจจุบันคือตำบลสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
- พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕ เรียกพื้นที่ตำบลสารจิตร ตำบลบ้านแก่ง ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัยว่า เมืองวิเศษชัยสัตย์
- พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๗๐ พื้นที่ตำบลศรีสัชนาลัย และตำบลท่าชัย อยู่ในความปกครองของอำเภอสวรรคโลก
- พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๓ กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลศรีสัชนาลัย
- พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่ออำเภอหาดเสี้ยว เป็นอำเภอศรีสัชนาลัย
- พ.ศ.๒๕๒๖ กรมศิลปากร ประกาศจัดตั้งกลุ่มโบราณสถาน ตำบลท่าชัย ตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสวนจิตร ตำบลหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย


ชุมชนอำเภอศรีสัชนาลัย
- พ.ศ.๒๔๒๘ - ๒๔๓๗ เรียกบริเวณบ้านปลายนา ตำบลบ้านตึกว่า เมืองด้ง
- พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๐ ปากห้วยแม่รากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเรียกว่า อำเภอด้ง
- พ.ศ.๒๔๔๐ - ๒๔๖๐ ตำบลหาดเสี้ยวเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ แต่ยังคงเรียกว่า อำเภอด้ง
- พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๘๒ เรียกนามอำเภอตามตำบลที่ตั้งอำเภอว่า อำเภอหาดเสี้ยว
- พ.ศ.๒๔๘๒ - ๒๕๑๐ ใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย และอยู่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัยเก่า ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ต่อมาใช้นามอำเภอว่าศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐


โบราณสถาน และสถานที่สำคัญของอำเภอศรีสัชนาลัย โบราณสถานก่อนที่ชุมชนไทยญวน ตำบลหาดเสี้ยว อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่กันหนาแน่น คนได้สร้างอุโบสถวัดหาดเสี้ยว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๗ มีดังนี้
- วัดร้างสมัยสุโขทัย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ได้สถาปนาเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาตั้งชื่อวัดว่า วัดโบสถ์มณีราม มีอุโบสถเก่ากับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย มีจารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูป
- วัดร้างสมัยสุโขทัยอีกสองวัด ปัจจุบันไม่เหลือซาก
- วัดร้างสมัยสุโขทัยอยู่บนเขา ที่บ้านหาดสูง ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์ชื่อว่า วัดภูธาตุเจดีย์
- วัดน้อย อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนได้สร้างวิหารก่ออิฐถือปูนทับไปบนฐานวัดร้าง เป็นโบราณสถานสมัยสุโขทัย
- วัดโพธิทอง อยู่ที่บ้านหาดสูง ชาวไทยพวนสถาปนาขึ้นเป็นวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดสูง
- วัดโพธิชัย หรือวัดโพธิไทร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหาดเสี้ยว จากศิลาจารึกที่ติดไว้ที่ฝาผนังอุโบสถ พบว่าอุโบสถสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๗ นับเป็นโบราณสถานสกุลช่างไทยพวน ที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่มาถึงปัจจุบัน กรมศิลปากรได้สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ มีอาคาร อุโบสถ หอไตร เจดีย์ด้านทิศตะวันออก รวมสามรายการ ประตูโขงของวัด ๘ ประตู ถูกรื้อออกไปหมด ตามประเพณีไทยพวนเรียกชื่อประตูทั้งแปดทิศ และมีความหมายดังนี้
ประตูซ้ำโกรน ทิศพายัพ หมายถึงหนู ประตูโงนงก ทิศอุดร หมายถึงช้าง ประตูชกเกวียน ทิศอิสาน หมายถึงวัว ประตูเหียนแอ่น ทิศบูรพา หมายถึงครุฑ ประตูแว่นโต ทิศอาคเนย์ หมายถึงสิงห์โต ประตูโสภาค ทิศทักษิณ ประตูลาภฟาน ทิศหรดี หมายถึงเสือ และประตูหารน้ำ ทิศประจิม หมายถึง พญานาค
- วัดบ้านใหม่ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมตรงกันข้ามกับวัดโบสถ์มณีราม แต่เนื่องจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง ต้องย้ายวัดลึกเข้าไปจากฝั่ง
- วัดเวียงชัย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดแม่ราก ตามชื่อหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐
- หมู่บ้านข่า ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเกาะระเบียง อยู่ในเขตตำบลแม่สำ อำเภอศรีสัชนาลัย


ชุมชนเมืองด้ง เมืองด้งอยู่ในเขตตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมืองด้งได้ชื่อมาจาก เจ้าหมื่นด้ง โอรสเจ้าหมื่นโลกสามล้าน เจ้านครลำปาง ประสูติเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๓ มีนามว่าเจ้าหาญแต่ท้อง เมื่อเจริญชันษาแล้วได้เป็นแม่ทัพของอาณาจักรล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้าหมื่นด้ง เจ้าเมืองนครลำปาง เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๖ และได้รักษาการเจ้าเมืองเชียงชื่น ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๒ อีกด้วย ในห้วงเวลานี้ คงจะได้มาตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่น ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย บริเวณวัดต้นสนโพธาราม
คำว่าเมืองด้ง ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๔๒๘ ใบบอกเมืองสวรรคโลก จ.ศ.๑๒๔๗ แสดงว่าเมืองด้งคง จะได้รับการยกฐานะชุมชนบริเวณบ้านตึกขึ้นเป็นเมือง ตำแหน่งเจ้าเมืองมียศเป็นที่พระเมืองด้ง ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ชื่อเมืองด้งมีความเป็นมา ดังนี้
- พ.ศ.๒๐๐๓ - ๒๐๑๗ เป็นที่ตั้งกองกำลังควบคุมเมืองเชลียง หรือศรีสัชนาลัย หรือเชียงชื่นของเจ้าหมื่นด้งเจ้าเมืองนครลำปาง
- พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอด้ง
- พ.ศ.๒๔๔๑ - ๒๔๕๖ ตำบลบ้านตึก เป็นที่ตั้งสาขาของที่ว่าการอำเภอด้ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย
ชุมชนอำเภอสวรรคโลก ชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ล้อมรอบด้วยวัดสว่างอารมณ์วรวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดจวน ประวัติศาสตร์ชุมชนแห่งนี้เกี่ยวข้องกับเมืองเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชียงชื่น และเมืองสวรรคโลกเก่า เป็น เมืองลูกหลวงในสมัยสุโขทัย เป็นเมืองพระยามหานคร มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับเมืองสุโขทัย เมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครศรีธรรมราช ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยกรุงธนบุรีเจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นเจ้าพญาสวรรคโลก ศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๔ เจ้าเมืองสวรรคโลกเป็นที่พระสวรรคโลก
หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๓๕ ทางกรุงเทพ ฯ ได้เริ่มส่งข้าราชการมาบริหารการปกครองควบคู่กับตำแหน่งขุนนางสืบตระกูล ทายาทตระกูลวิชิตนาค นามเดิมชื่อมั่งเป็นเจ้าเมืองสวรรคโลก ลำดับที่สี่ เรียงกันดังนี้
- พญาสวรรคโลก (นาค - ต้นตระกูลวิชิตนาค) พ.ศ.๒๓๗๘ - ๒๓๘๕
- พญาสวรรคโลก (นก ) ลูกพญาสวรรคโลก (นาค) พ.ศ.๒๓๘๕ - ๒๔๑๑
- พระยาสวรรคโลก (ด้วง) ลูกพระยาสวรรคโลก (นก) พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๓
- พระยาสวรรคโลก (มั่ง วิชิตนาค) ลูกพระยาสวรรคโลก (ด้วง) พ.ศ.๒๔๓๓ - ๒๔๔๕
เมืองสวรรคโลกใหม่ย้ายจากเมืองสวรรคโลกเก่ามาอยู่ที่บ้านวังไม่ขอน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๙ เมืองสวรรคโลกได้ย้ายไปสามครั้งแล้ว ตัวเมืองเดิมเป็นอย่างเมืองจริง ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำยม หรือแม่น้ำธานี มีกำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงอย่างแน่หนา เมืองสวรรคโลกที่ว่ามาธรรมราชสร้าง เป็นเมืองเดิมทิ้งร้างแล้ว เมืองได้ลงมาตั้งใหม่ที่บ้านท่าชัย ซึ่งบัดนี้เรียกว่าเมืองเก่า อยู่ใต้เมืองเดิมลงมาคุ้งหนึ่ง ต่อมาก็ทิ้งอีก แล้วมาตั้งที่บ้านวังไม้ขอน อยู่ใต้เมืองเก่าลงไปมาก
เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๗ ยังมิได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่ตั้งเจ้าเมือง มีแต่หลวงยกบัตรรักษาการแทนเจ้าเมืองสวรรคโลก เมืองสวรรคโลกมีเมืองขึ้นสามเมืองคือ
เมืองบางขลัง ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก ชื่อเมืองนี้ปรากฏตั้งแต่สมัยเชลียงแล้ว โบราณสถานสำคัญของเมืองนี้ได้แก่วัดโบสถ์เมืองบางขลัง วัดใหญ่ชัยมงคล และหอรบทุ่งเสลี่ยม เป็นต้น หลังจากปี พ.ศ.๒๕๐๑ ได้แยกพื้นที่ของเมืองบางขลังตั้งเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม
เมืองทุ่งยั้ง อยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองทางบางโพเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ยกฐานะเมืองพิชัยจากเมืองตรีเป็นเมืองโท ตัดพื้นที่เมืองทุ่งยั้งในความปกครองของเมืองสวรรคโลก ให้อยู่ในความปกครองของเมืองพิชัยเช่นเดียวกับเมืองอุตรดิตถ์ หลังจาก ปี พ.ศ.๒๔๕๙ ได้ยกเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ พื้นที่เมืองทุ่งยั้งจึงอยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งแต่นั้นมาเมืองบางยม ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก ปรากฏชื่อเมืองนี้ครั้งแรกในเอกสารจดหมายเหตุ พ.ศ.๒๓๘๗ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๓๕ เมืองสวรรคโลกมีเมืองในปกครองหกเมืองคือ เมืองด้ง เมืองวิเศษชัยสัตย์ เมืองบางยม เมืองศรีนพมาศ เมืองพิรามรง และเมืองบางขลัง


ชุมชนเมืองสุโขทัยเก่า ปัจจุบันอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เจ้าเมืองสุโขทัย ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่ เท่ากับตำแหน่งสำคัญ ๘ ตำแหน่งในครั้งนั้นคือ พระมหาอุปราช เจ้าพระยามหาเสนาสมุหพระกลาโหม เจ้าพญาจักรีสมุหนายก เจ้าพญาสุรสีห์เจ้าเมืองพิษณุโลก เจ้าพญาศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร เจ้าเมืองสวรรคโลก และเจ้าเมืองสุโขทัย   ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระเชียงเงินเจ้าเมืองเชียงเงิน (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองตาก) เป็นผู้รั้งตำแหน่งพญาสุโขทัยในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระวิเชียรบุรี (ปัจจุบันเป็นชื่ออำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์) ดำรงตำแหน่งพญาสุโขทัย
พ.ศ.๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้หลวงณรงอาสา กองส่วยไม้ขอนสัก บุตรพญาสุโขทัยคนเก่าเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยพระยาศรีสัชนาลัย (เลี้ยง ศิริปาละ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยคนแรก
เมืองสุโขทัยย้ายจากเมืองเก่ามาอยู่ธานีตั้งแต่เมื่อใด ยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนการอนุรักษ์เมืองสุโขทัยเก่าให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ จอมพล. ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ไปตรวจราชการถึงเมืองสุโขทัยเก่า พบโบราณสถานอันสำคัญอยู่ในสภาพปรักหักพัง สมควรที่จะฟื้นฟูบูรณะให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัยเก่าขึ้นมาในปีเดียวกันนั้น ต่อมาได้มีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรได้รับงบประมาณขุดแต่งบูรณะในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๘ - ๒๕๑๒ เป็นส่วนใหญ่ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีการใช้คำว่า อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นครั้งแรก รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้จังหวัดสุโขทัยมากเป็นพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา


ชุมชนเมืองราชธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลราชธานี อำเภอเมือง ฯ ชาวบ้านเรียกกันเป็นสามัญว่า ธานี
คำว่าธานีซึ่งเป็นชื่อตำบลอยู่ปัจจุบัน เข้าใจว่ามาจากคำว่า ทะเลหลวง ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหงที่กล่าวว่า ด้านตะวันออกของตัวเมืองสุโขทัย เป็นที่ตั้งของทะเลหลวง ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำลำพัน แม่น้ำฝากระดาน คลองสามพวง ไหลมารวมกันเป็นทะเลหลวง แล้วไหลออกไปรวมกับแม่น้ำยมเก่าที่อำเภอกงไกรลาศ
คำว่าธานี เป็นชื่อแม่น้ำท่าแพเดิมหรือแม่น้ำยมในปัจจุบัน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกแม่น้ำด้านตะวันออกกำแพงเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๐๐๒ ว่า แม่น้ำราชธานี ระหว่างปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ ปรากฏชื่อเมืองราชธานีเป็นชื่อเมืองขึ้นของเมืองสุโขทัยชื่ออำเภอเมือง ฯ มีลำดับความเป็นมาคือ ระหว่าง ปี พ.ศ.๒๔๔๒ - ๒๔๕๙ เรียกว่าอำเภอในเมือง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๐ - ๒๔๗๔ เรียกอำเภอธานี ตามชื่อตำบลธานี พ.ศ.๒๔๗๔ - ๒๔๘๒ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อำเภอธานีใช้ชื่ออำเภอว่า อำเภอสุโขทัยธานี จังหวัดสวรรคโลก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทยยุบ จังหวัดสวรรคโลก และอำเภอเมืองสวรรคโลก เป็นอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัยธานีจึงเปลี่ยนเป็น อำเภอเมืองสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน



ชุมชนอำเภอศรีสำโรง พื้นที่ของอำเภอศรีสำโรงมีชุมชนโบราณสามแห่งด้วยกัน คือ บ้านสระบัว ตำบลวังใหญ่ บ้านวังมีด (๑) ตำบลนาขุนไกร และบ้านวังมีด (๒) ตำบลขุนไกร นอกจากนี้วัดโรงฆ้อง และวัดป่าขมิ้น ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดโบราณอยู่ริมลำน้ำยมสายเก่า แสดงถึงการมีชุมชนในอดีตอยู่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ด้วย
โบราณสถานเมืองศรีสำโรง ได้แก่ วัดสำโรงทอง อยู่ที่บ้านท่ามักกะสัง ตำบลราวต้นจันทน์ วัดโรงฆ้อง ปัจจุบันชื่อวัดวงฆ้อง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมเก่า ตำบลเกาะตาเลี้ยง เป็นวัดที่มีอายุประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุ อันได้แก่ พระพุทธรูปโบราณสี่องค์เดิมอยู่ที่วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง ชาวบ้านได้อาราธนามาประดิษฐานที่วัดบ้านซ่าน ตำบลบ้านซ่าน เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ ระฆังโบราณของถ้ำระฆัง ตำบลนาขุนไกร และได้นำมาถวายไว้ที่วัดบ้านซ่าน พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อยู่ที่วัดคลองโป่ง ตำบลคลองตาล



ชุมชนอำเภอกงไกรลาศ อยู่ที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอกงไกรลาศ เดิมคงจะเป็นเมืองกงครามในความปกครองของเมืองสุโขทัย และปรากฏชื่อเมืองกงไกรลาศ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่าการอำเภอกงไกรลาศหลังแรกตั้งอยู่บนเกาะกง ในเขตตำบลกงในปัจจุบัน พื้นที่อำเภอกงไกรลาศมีวัดร้างมากเกือบ ๗๐ วัด เช่น วัดทุ่งเนินพยอม หรือวัดป่าแฝก อยู่ในเขตตำบลป่าแฝก มีโบราณสถานคือ ฐานวิหาร ฐานอุโบสถ กำแพงแก้ว หอไตร เตาเผาสังคโลกที่ระบายความร้อนแนวนอน


ชุมชนอำเภอคีรีมาศ อยู่ในเขตตำบลทุ่งหลวง หนึ่งแห่งและตำบลศรีคีรีมาศอีกแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองคีรีมาศมีปรากฏอยู่ในบันทึกวัดพระเชตุพน ตอนทำเนียบหัวเมือง ที่จัดทำขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ.๒๓๗๕ - ๒๓๗๘ เป็นเมืองในความปกครองของเมืองสุโขทัย เจ้าเมืองเป็นที่พระคีรีมาศ

ชุมชนอำเภอบ้านด่านลานหอย จากหลักฐานทางโบราณคดี พบคันดินและคูน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณ อยู่ในเขตตำบลวังน้ำขาวสองแห่ง จากจำนวน ๑๖ แห่งในเขตจังหวัดสุโขทัย เขาค่ายและบ้านด่าน สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นด่านโบราณ ระฆังโบราณที่เก็บรักษาอยู่ที่วัดสังฆาราม หรือวัดบ้านด่าน ตำบลบ้านด่าน นำมาจากถ้ำระฆังตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง
ชื่อเดิมของชุมชนนี้ชื่อ บ้านด่านกับบ้านลานคอย เมื่อมีการแบ่งพื้นที่อำเภอเมืองสุโขทัย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ จึงนำเอาชื่อหมู่บ้านเก่าแก่ที่สุดมารวมกันเป็นชื่ออำเภอ แต่ชื่อลานคอยได้กลายไปเป็นลานหอยเขาค่าย บ้านด่าน และบ้านคอย อยู่ระหว่างเมืองสุโขทัย และเมืองตาก เมื่อเกิดศึกพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ละเมา ผ่านเมืองตาก เป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองตาก จะต้องรายงานให้หมู่บ้านลานคอยทราบ แล้วหมู่บ้านลานคอยจะต้องรับส่งม้าเร็วไปรายงานบ้านด่าน บ้านด่านต้องรับส่งม้าเร็วไปส่งข่าวศึกกับเมืองสุโขทัย ให้เตรียมป้องกันเมือง สันนิษฐานว่า ถ้าทัพพม่ายกผ่านเข้ามาถึงเมืองตาก ราษฎรบ้านลานคอย และบ้านด่าน จะต้องรีบอพยพครัวเรือน และข้าวเปลือก เข้าไปอยู่ในกำแพงเมืองสุโขทัย ส่วนไพร่ชายซึ่งมีหน้าที่ต้องเป็นทหารทุกคน คงต้องเตรียมอาวุธประจำกายมาป้องกันข้าศึกอยู่บริเวณเขาค่าย ปัจจุบันบนเขาค่าย ยังคงมีกองหินก่อเป็นเชิงเทินเหลืออยู่เป็นแนวยาวตลอดภูเขา